หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

สมาชิกกลุ่ม2


สมาชิกกลุ่ม2 ห้อง4/1



กฤษณพล  อิทธิเดชารณ  (2)     http://propertyofinformations.blogspot.com/

ธนภูมิ      เหลืองสกุล     (12)   http://dataandinfo.blogspot.com/

วสุธร       พูลสิน           (22)  typeofinfo.blogspot.com/

จิดาภา     กลิ่นเกษร       (32)  Mui-ngor.blogspot.com/

จิรานันท์   ปัญโญใหญ่     (42) boysyaoi.blogspot.com/

จันทรัสม์   อรัญญภูมิ       (52) famm-family.blogspot.com/



คุณสมบัติของข้อมูล



 คุณสมบัติของข้อมูล 

การได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ประโยชน์ องค์การจำเป็นต้องลงทุนในด้านตัวข้อมูลตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับระบบ เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน ดังนี้    
1.ความถูกต้องแม่นยำ
ประสิทธิผลของการตัดสินใจขึ้นอยู่กับความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสีย ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้
2.ความรวดเร็ว
การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้
3.ความสมบูรณ์ครบถ้วน
การดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์
4. ความชัดเจนและกะทัดรัด
การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมาก จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้
5. ความตรงกับความต้องการของผู้ใช
ความต้องการของผู้ใช้นั้นสำคัญ ดังนั้นเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ
ที่มาบทความ
http://www.chakkham.ac.th/technology/techno2/page2.html

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/46/page03_04.html







ข้อมูลและชนิดของข้อมูล



ข้อมูลและชนิดของข้อมูล

          ข้อมูล   คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ตัวอัขระ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ  ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และต้องถูกต้องแม่นยำ  ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ 

ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น ชนิด คือ
          1) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้ข้อมูลแบบนี้เขียนได้หลายรูปแบบ คือ

เลขจำนวนเต็ม  หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12, 9, 137 , 8319 , -46

เลขทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12  หรือเป็นจำนวนที่มีเศษทศนิยมก็ได้  เช่น 12.763  เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้  2 รูปแบบคือ
                - แบบที่ใช้การทั่วไป    เช่น 12., 9.0 ,17.63, 119.3267 , -17.34     
               - แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์  
เช่น
                             123. x 10^4            หมายถึง 1230000.0
                             13.76 x 10^-3        หมายถึง 0.01376
                              - 1764.0 x 10^2    หมายถึง -176400.0
                              - 1764.10^-2         หมายถึง -17.64
           
2) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) หมายถึง ข้อมูลที่ ไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น การเรียงลำดับตัวอักษร ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใด ๆ เช่น   COMPUTER , ON-LINE , 1711101 , 76








ประเภทของข้อมูล
การแบ่งชนิดของข้อมูลแบ่งได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งซึ่งอาจแตกต่างกันไปขึ้นกับจุดประสงค์หรือความต้องการในการใช้ข้อมูล ในที่นี้จะแสดงการแบ่งประเภทของข้อมูลเพื่อเป็นตัวอย่าง  ดังเช่น
1. ประเภทของข้อมูลเมื่อจำแนกตามรูปลักษณะของข้อมูล
2. ประเภทของข้อมูลเมื่อจำแนกตามลักษณะแหล่งเกิดข้อมูล
3. ประเภทของข้อมูลเมื่อจำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล

ประเภทของข้อมูลเมื่อจำแนกตามรูปลักษณะของข้อมูล
1.ข้อมูลตัวเลข คือ ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวน เช่น ราคาน้ำมัน อุณหภูมิ
2.ข้อมูลอักขระ คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ  เช่น ที่อยู่ ประกอบ ด้วยตัวเลข คือ เลขที่บ้าน ชื่อถนน ตำบล ฯลฯ
3.ข้อมูลภาพ คือ ข้อมูลภาพถ่าย หรือ ภาพวาด ภาพลายเส้น เช่น ภาพคน ลายนิ้วมือ ฯลฯ
4.ข้อมูลเสียง ได้แก่เสียงต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ เช่น เสียงคน เสียงดนตรี ฯลฯ


ประเภทของข้อมูลเมื่อจำแนกตามลักษณะแหล่งเกิดข้อมูล
1.ข้อมูลสิ่งแวดล้อม ได้แก่ข้อมูลของสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมและในโลก ทำให้ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เช่น ราคาน้ำมัน สภาพภูมิอากาศ การประท้วงของประชาชนในประเทศต่าง ๆ ฯลฯ
2.ข้อมูลหน่วยงาน คือ ข้อมูลที่แสดงความเป็นไปหรือสภาพในหน่วยงาน เช่น ประวัติพนักงาน รายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับหน่วยงาน ฯลฯ
3.ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลต่าง ๆ เช่น น้ำหนักตัว ส่วนสูง วันเดือนปีเกิด
4.ข้อมูลวิทยาศาสตร์ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์ อาจเป็นข้อมูลที่พิสูจน์แล้ว หรือกฎเกณฑ์และทฤษฎีต่าง ๆ เช่น ความเร็วของแสง หรือข้อมูลที่ได้จากการวัดหรือการสังเกตต่าง ๆ เช่น ปริมาณธาตุต่าง ๆในดิน ณ ที่ดินแห่งหนึ่ง ลักษณะทางพันธุกรรมของพืชที่ได้จากการผสมขึ้นมาใหม่ ฯลฯ
5.ข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร ได้แก่ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเอกสารที่มีผู้จัดพิมพ์ขึ้น ข้อมูลประเภทนี้มีมากในห้องสมุดต่าง ๆ เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ เนื้อหาสาระในหนังสือ


ประเภทของข้อมูลเมื่อจำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล
           1. ข้อมูลปฐมภฺมิ (Primary Data)
 หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง อาจได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนได้มาจากเครื่องมือวัดต่าง ๆ ข้อมูลปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูล เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง  เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก
        
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง หมายถึงข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้วบางครั้งอาจมีการประมวลผลเป็นสารสนเทศไปแล้ว ผู้ใช้ข้อมูลไม่ได้ไปสำรวจเอง ตัวอย่างเช่นข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่มีผู้ทำไว้อาจเป็นหน่วยราชการ หรือหน่วยงานอื่น ๆ    เช่น    สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก เป็นต้น

ข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูลอยู่ในรูปของ ตัวเลขตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมี

องค์ประกอบ 5 ส่วนคือ 

1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า
2. การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อ ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้
3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และ สามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน
4. เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผล ผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น
5. สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้อง ตรงกับความต้อง การใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล


การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้ 


1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ


ลักษณะ
ของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้ 1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น 
สรุปผล


          ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การ ดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว ส่วนสารสนเทศ นั้นคือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้ เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือ มีความเกี่ยว ข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

แหล่งที่มา

http://www.chakkham.ac.th/technology/techno2/page1.html
http://blog.eduzones.com/noknik15clab/33086

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ




การจัดทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวม  และตรวจสอบข้อมูล การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ดังต่อไปนี้
            ก.    การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล

                   1)   การเก็บรวบรวมข้อมูล       เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร

                   2)   การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข
           ข.    การประมวลผลข้อมูล แบ่งออกเป็น ประเภท คือ
                1) การประมวลผลด้วยมือ วิธีนี้เหมาะกับข้อมูลจำนวนไม่มากและไม่ซับซ้อน อุปกรณ์ในการคำนวณได้แก่ เครื่องคิดเลข ลูกคิด
                2) การประมวลผลด้วยเครื่องจักร วิธีนี้เหมาะกับข้อมูลจำนวนปานกลาง และไม่จำเป็นต้องใช้ผลในการคำนวณทันทีทันใด เพราะต้องอาศัย เครื่องจักร และแรงงานคน
               3) การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ วิธีนี้เหมาะกับงานที่มีจำนวนมาก ไม่สามารถใช้แรงงานคนได้ และงานมีการคำนวณที่ ยุ่งยาก ซับซ้อน การคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว
ลำดับขั้นตอนในการประมวลผลข้อมูลมีดังนี้

1)   การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่เก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เพื่อความสะดวกในการค้นหา

2)   การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร เพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร ทำให้ค้นหาได้ง่าย

3)   การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า 

4)   การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย
           ค. การจัดเก็บและดูแลรักษาข้อมูล   


1) การเก็บรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูลเพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้
2) การค้นหาข้อมูลข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไป การค้นหาข้อมูลจะต้องค้นได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงานทำให้การเรียกค้นกระทำได้ทันเวลา
3) การทำสำเนาข้อมูล การทำสำเนาเพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้ หรือนำไปแจกจ่ายในภายหลังจึงควรจัดเก็บข้อมูลให้ง่ายต่อการทำสำเนาหรือนำไปใช้อีกครั้งได้โดยง่าย
 4) การสื่อสาร ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การ ส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา
ที่มา

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

รหัสแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์

รหัสแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์


ความหมายของรหัสแทนข้อมูล
รหัสแทนข้อมูล  หมายถึง รหัสที่ใช้แทนตัวอักขระ ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ ที่ใช้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพราะว่าข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์จะแทนด้วยรหัสเลขฐานสองที่มีเลข ๐ กับ ๑ วางเรียงกัน


ซึ่งรหัสข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ คือ
1. รหัสภายนอกเครื่อง (External Code) หมายถึง รหัสที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลที่อยู่ภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การบันทึกข้อมูลบนบัตรเจาะรู โดยใช้สัญลักษณ์การเจาะรูแต่ละแถวแทนข้อมูล 1 ตังอักษร
2. รหัสภายในเครื่อง (Internal Code) หมายถึง รหัสที่ใช้แทนข้อมูลที่ถูกอ่านและบันทึกอยู่ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งรหัสที่ใช้แทนข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังนี้
รหัสบีซีดี               รหัสแอบซีดิก                     รหัสแอสกี้                            รหัสยูนิโคด


รหัสแอสกี้ (ASCII)

รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange)
      รหัสแอสกี เป็นรหัสที่นิยมใช้กันมาก จนสามมารถนับได้ว่าเป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ใน การสื่อสารข้อมูล ( Data Communications) แทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ ๒๕๖ ตัว เมื่อใช้แทนตัวอักษรภาษาอังกฤษแล้วยังมีเหลืออยู่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ได้กำหนดรหัสภาษาไทยเพิ่มลงไปเพื่อให้ใช้งานร่วมกันได้ ตามตารางที่  ๔.๑  การแทนค่าแทนค่าด้วยตัวเลขแนวตั้ง(b b)ก่อน แล้วตามด้วยตัวเลขแนวนอน(b – b๐) เช่น   ก ๑๐๑๐๐๐๐๑   และ  ๐๑๐๐๐๐๐๑   

บิตที่ ๔ ถึง ๗ เป็นส่วนที่ใช้กำหนดประเภทของตัวอักขระ
๐๐๑๐

เครื่องหมายต่าง ๆ
๐๐๑๑

ตัวเลขและเครื่องหมายต่างๆ
๐๑๐๐

A-O
๐๑๐๑

P-Z และเครื่องหมายต่าง ๆ
๐๑๑๐

a-o
๐๑๑๐

p-z และเครื่องหมายต่าง ๆ
บิตที่ ๐ ถึง ๓ เป็นรหัสแทนอักขระแต่ละตัวในกลุ่มนั้น
ตารางที่ ๔.๑  รหัส ASCII  แทนตัวอักษรภาษาอังกฤษและภาษาไทย



b7
0
0
0
0
0
0
0
0
1
1
1
1
1
1
1
1

b6
0
0
0
0
1
1
1
1
0
0
0
0
1
1
1
1

b5
0
0
1
1
0
0
1
1
0
0
1
1
0
0
1
1

b4
0
1
0
1
0
1
0
1
0
1
0
1
0
1
0
1
b3
b2
b1
b0

















0
0
0
0





@
P
`
p



0
0
0
1




!
A
Q
a
q


0
0
1
0




"
B
R
b
r


0
0
1
1




#
C
S
c
s


0
1
0
0




$
D
T
d
t


0
1
0
1




%
E
U
e
u


0
1
1
0




&
F
V
f
v


0
1
1
1




'
G
W
g
w


1
0
0
0




(
H
X
h
x


1
0
0
1




)
I
Y
i
y


1
0
1
0




*
J
Z
j
z


1
0
1
1




+
K
[
k
{



1
1
0
0




,
L
\
l
|




1
1
0
1




-
M
]
m
}




1
1
1
0




.
N
^
n
~




1
1
1
1




/
O
_
o



฿

รหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC)
          รหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) เป็นคำย่อมาจาก Extended Binary Coded Decimal Interchange Code พัฒนาและใช้งานโดยบริษัทไอบีเอ็ม เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมของไอบีเอ็มยังคงใช้รหัสนี้

การแทนข้อมูลในหน่วยความจำ
          หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์เป็นที่เก็บข้อมูลและคำสั่งในขณะประมวลผล การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นการเก็บรหัสตัวเลขฐานสอง ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลทั้งตัวเลขหรือตัวอักษรจะได้รับการแทนเป็นตัวเลขฐานสอง แล้วเก็บไว้ในหน่วยความจำ เช่น ข้อความว่า BANGKOK เก็บในคอมพิวเตอร์จะแทนเป็นรหัสเรียงกันไป ดังนี้

 
หน่วยความจำ
B
01000010
A
01000001
N
01001110
G
01000111
K
01001011
O
01001111
K
01001011
รูป แสดงตัวอย่างการแทนข้อความในหน่วยความจำ
**หน่วยความจำของไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ มีขนาดความกว้าง 8 บิต และเก็บข้อมูลเรียงกันไป โดยมีการกำหนดตำแหน่งซึ่งเรียกว่า เลขที่อยู่ (address)***       
เพื่อให้ข้อมูลที่เก็บมีความถูกต้อง การเขียนหรืออ่านทุกครั้งจึงต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล วิธีที่ง่ายและนิยมใช้กันคือการเพิ่มอีก 1 บิต เรียกว่า บิตพาริตี (parity bit) บิตพาริตีที่เพิ่มเติมเข้าไปจะทำให้ข้อมูลทั้งหมดในส่วนนั้นมีเลข 1 เป็นจำนวนคู่ หรือจำนวนคี่ เช่น ในไมโครคอมพิวเตอร์เพิ่มอีก 1 บิต เพื่อทำให้เลขหนึ่งเป็นจำนวนคู่ เรียกว่าพาริตีคู่ (even parity) บิตพาริตีที่เติมสำหรับข้อมูลตัวอักษร A และ E เป็นดังนี้
          A 01000001 0 <-- บิตพาริตี
          E 01000101 1 <-- บิตพาริตี
          ข้อมูล A มีเลข 1 สองตัว ซึ่งเป็นจำนวนคู่อยู่แล้ว ดังนั้นจึงใส่บิตพาริตีเป็นเลข 0
         
ข้อมูล E มีเลข 1 เป็นจำนวนคี่ จึงใส่บิตพาริตีเป็น 1 เพื่อให้มีเลข 1 เป็นจำนวนคู่

**ตัวอย่าง**  ข้อความ BANGKOK เมื่อเก็บในหน่วยความจำหลักของไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีบิตพาริตีด้วยจะเป็นดังรูป
 
หน่วยความจำ
บิตพาริตี
B
01000010
0
A
01000001
0
N
01001110
0
G
01000111
0
K
01001011
0
O
01001111
1
K
01001011
0
รูปที่ แสดงตัวอย่างการแทนข้อความในหน่วยความจำแบบมีบิตพาริตี


การแทนคำสั่งในหน่วยความจำ
          หน่วยควบคุมของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในซีพียู ทำการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตาม คำสั่งคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่สุดเรียกว่า ภาษาเครื่อง (machine langauge) ภาษาเครื่องมีลักษณะเป็นรหัสที่ใช้ตัวเลขฐานสอง ตัวเลขฐานสองเหล่านี้แทนชุดรหัสคำสั่ง คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีคำสั่งที่ใช้ได้หลายร้อยคำสั่ง แต่ละคำสั่งจะมีความหมายเฉพาะ เช่น คำสั่งนำข้อมูลที่มีค่าเป็น 3 จากหน่วยความจำตำแหน่งที่ 8000 มาบวกกับข้อมูลที่มีค่าเป็น 5 ในตำแหน่งที่ 8001 ผลลัพธ์ที่ได้ให้เก็บไว้ในหน่วยความจำตำแหน่งที่ 8002 เมื่อเขียนคำสั่งเป็นภาษาเครื่องจะมีลักษณะเป็นตัวเลขฐานสองเรียงต่อกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเข้าใจได้ยาก จึงมักใช้ตัวอักษรแทนรหัสภาษาเครื่องเหล่านี้ ดังตัวอย่าง

แอสเซมบลี
ภาษาเครื่อง
LD A,(8000)
00111010,00000000,10000000
LD B,A
01000111
LD A,(8001)
00111010,00000001,10000000
ADD A,B
10000000
LD (8002),A
00110010,00000010,10000000
รูป แสดงตัวอย่างการแทนคำสั่งภาษาเครื่อง

รหัสภาษาเครื่องเมื่อเก็บอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเรียงต่อกันไป สมมติให้ส่วนของโปรแกรมเก็บในหน่วยความจำตำแหน่งเริ่มจาก 1000 และข้อมูลเก็บไว้ที่ตำแหน่งเริ่มจาก 8000 ดังรูป
แอสแซมบลี
ตำแหน่ง
หน่วยความจำ
บิตพาริตี
LD A,(8000)
1000
00111010
0
 
1001
00000000
0
 
1002
10000000
1
LD B,A
1003
01000111
0
LD A,(8001)
1004
00111010
0
 
1005
00000001
1
 
1006
10000000
1
ADD A,B
1007
10000000
1
LD (8002),A
1008
00110010
1
 
1009
00000010
1
 
1010
10000000
1
 
.
.
.
 
.
.
.
 
.
.
.
ข้อมูล
8000
00000011
0
 
8001
00000101
0
ผลลัพธ์
8002
00001000
1
รูป การเก็บข้อมูลและคำสั่งลงในหน่วยความจำด้วยรหัสเลขฐานสอง
          ภาษาสั่งการพื้นฐานที่ใช้รหัสตัวเลขฐานสองนี้เรียกว่า ภาษาเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูต่างตระกูลกันจะมีภาษาเครื่องที่ต่างกัน เช่น เครื่องที่ใช้ซีพียูเพนเทียมกับซีพียูที่ใช้ในเครื่องแมกอินทอช มีรหัสคำสั่งต่างกัน


รหัสบีซีดี (Binary Coded Decimal: BCD)
รหัสบีซีดี (Binary Coded Decimal: BCD) เป็นรหัสที่ใช้เลขฐานสองแทนเลขฐานสิบ ใช้จำนวน 6 บิต เพื่อแทนข้อมูล 1 อักขระ ดังนั้นรหัสบีซีดีจึงสามารถสร้างรหัสที่มีความแตกต่างกันได้ 64 รหัส (64 = 26) การกำหนดรหัสบีซีดีสำหรับ 1 อักขระนี้ ทำได้โดยแบ่งจำนวน 6 บิต ออกเป็น 2  ส่วน คือ
Zone Bit ใช้ 2 บิตแรก
Digit Bit ใช้ 4 บิตหลัง
รหัสบีซีดี 64 รหัส สามารถใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ ดังนี้
ข้อมูลที่เป็นตัวเลขการแทนข้อมูลที่เป็นตัวเลขด้วยรหัสบีซีดี ส่วนที่เป็น Zone Bit จะถูกกำหนดเป็น 00 เท่านั้นส่วนที่เป็น Digit Bit ใช้บันทึกค่าของตัวเลขนั้น ๆ ในระบบฐานสอง กรณีที่ตัวเลขมีค่ามากกว่า 1 หลัก สามารถกำหนดเป็นรหัสบีซีดี โดยแยกกำหนดครั้งละ 1 หลักข้อมูลที่เป็นตัวอักษรการแทนข้อมูลที่เป็นตัวอักษรด้วยรหัสบีซีดี ทำได้ดังนี้ คือ
ข้อมูล
Zone Bit
Digit Bit
ตัวอักษร A-I
11
ค่าของข้อมูลนั้นในระบบเลขฐานสอง
ตัวอักษร J-R
10
ตัวอักษร S-Z
00




รหัสยูนิโคด (Unicode)
       
รหัสยูนิโคด (Unicode) เนื่องจากรหัสแทนข้อมูลที่กล่าวมาแล้วทั้ง 3 รูปแบบนั้น เพียงพอสำหรับการใช้งานในภาษาอังกฤษเท่านั้น กรณีที่ต้องการแทนตัวอักษรของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนั้นรหัสแทนข้อมูล 3 รูปแบบนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
ดังนั้นจึงมีการกำหนดรหัสแทนข้อมูลแบบยูนิโคดขึ้นมา โดยใช้จำนวน 16 บิต เพื่อแทนข้อมูล1 อักขระ ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่มีความแตกต่างกันได้ 65,536 รหัส
**ปัจจุบันรหัสยูนิโคด ได้ใช้แทนค่าของข้อมูลภาษาต่าง ๆ มากกว่า 34,000 รหัส โดยที่รหัส 256 ตัวแรกจะตรงกับรหัสแอสกี**